หนังสือ 3 เล่ม เกี่ยวกับการเรียนการสอนฟิสิกส์

เรียนฟิสิกส์มาก็ตั้งนานร่วมยี่สิบปีมาแล้ว สอนฟิสิกส์แก่นักเรียนมาก่อสิบกว่าปีแล้ว ไม่ยักรู้ว่ามีการทำวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนฟิสิกส์อย่างจริงๆ จังๆ ถึงขนาดมีการทำวิจัยกัน และมีทฤษฎีใหญ่โตเกี่ยวกับการเรียนการสอนฟิสิกส์ และเปิดเป็นสาขาวิชา การศึกษาฟิสิกส์ ถึงระดับปริญญาเอก แม้ทุกวันนี้องค์ความรู้ทางด้านนี้ ก็ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่อย่างต่อเนื่อง เชยจริงๆ เราเนี่ย ทำมาหากินเกี่ยวกับการสร้างความรู้ฟิสิกส์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนแท้ๆ กลับไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เลยแม้สักนิด

คำถามเกี่ยวกับจุดกำเนิดของศาสตร์เหล่านี้ หรือทฤษฎีเหล่านี้ ก็คงจะในทำนองที่ว่า "เราจะเรียนรู้ฟิสิกส์ให้ได้ผลดีได้อย่างไร" หรือ "เราจะทำให้นักเรียนเรียนรู้ฟิสิกส์ให้มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ได้อย่างไร" หรือ "ครูจะสอนอย่างไร ให้นักเรียนเข้าใจฟิสิกส์" หรืออะไรทำนองนี้ จากนั้นก็คงตั้งสมมติฐานกัน โดยนำสภาพปัญหาจริงๆ  ในชั้นเรียน เป็นตัวตั้ง

มาอบรม master teacher กับเพื่อนครูฟิสิกส์ประมาณ 40 คน ฟังบรรยายวันที่ 5 พฤษภาคม อาจารย์ไชยพงษ์ เป็นผู้บรรยาย ท่านเล่าอะไรให้ฟังหลายอย่าง ได้ข้อคิดดีระหว่างบรรยายอาจารย์กล่าวถึงหนังสือ 3 เล่ม ซึ่งประกอบไปด้วย "Five Easy Lesson – Strategies for Successful Physics Teaching" เขียนโดย Randall D. Knight เล่มต่อมาก็ Peer Instruction (A User’s Manual) โดย Eric Mazur เล่มสุดท้ายก็ Teaching Physics with Physics Suite โดย Edward F. Redish อาจารย์พูดถึงกรณีศึกษาหลายๆ อย่างที่น่าสนใจทีเดียว

              

 

 

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เราคงต้องศึกษาเรียนรู้ไว้บ้าง หนังสือทั้งสามเล่มนี้ คงเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เราได้หันมองย้อนมาถึงกิจกรรมที่เรานำให้เกิดขึ้นในชั้นเรียน ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต้องหาอ่านไว้บ้างแล้วละ  เพราะที่ผ่านถึงแม้จะยังไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสอนฟิสิกส์ก็ตาม แต่ก็เรียนรู้ผ่านการอบรมต่างๆ ซึ่งนั่นเป็นภาพกว้างๆ ซึ่งก็คงพอมาประยุกต์ได้ แต่นี่มีเรื่องเฉพาะเจาะจงขนาดนี้แล้ว เชื่อว่าคงจะเสริมประสิทธิภาพให้กับการเรียนการสอนบ้างล่ะน่า

ข้อความนี้ถูกเขียนใน Uncategorized คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น